B L O G
บล็อก (Blog) คือ คำว่า “Weblog” ถูกใช้งานเป็นครั้งแรกโดย Jorn Barger ในเดือนธันวาคม ปี 1997 ต่อมามีฝรั่งที่ชอบเรียกสั้นๆ ชื่อนาย Peter Merholz จับมาเรียกย่อเหลือแต่ “Blog” แทนในเดือนเมษายน ปีค.ศ.1999 และจนมาถึงวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.2003 ทาง Oxford English Dictionary จึงได้บรรจุคำว่า blog ในพจนานุกรม แสดงว่าได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ บล็อก (Blog) ขึ้นแท่นศัพท์ยอดฮิต อันดับหนึ่ง ซึ่งถูกเสาะแสวงหา ความหมาย ทางพจนานุกรมออนไลน์ มากที่สุด ประจำปี 2004 สำนักข่าวเอพีรายงานว่า เว็บไซต์ ดิกชั่นนารีหรือ พจนานุกรมออนไลน์ “เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์” ได้ประกาศรายชื่อ คำศัพท์ซึ่งถูกคลิก เข้าไปค้นหา ความหมายผ่าน ระบบออนไลน์มากที่สุด 10 อันดับแรกประจำปีนี้ ซึ่งอันดับหนึ่งตกเป็นของคำว่า “บล็อก” (blog) ซึ่งเป็นคำย่อของ “เว็บ บล็อก” (web log)
โดยนายอาเธอร์ บิคเนล โฆษกสำนักพิมพ์พจนานุกรมฉบับ เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ กล่าวว่า สำนักพิมพ์ได้เตรียมที่จะนำคำว่า “บล็อก” บรรจุลงในพจนานุกรมฉบับล่าสุดทั้งที่เป็นเล่มและ ฉบับออนไลน์แล้ว แต่จากความต้องการของผู้ใช้ที่หลั่งไหลเข้ามา ทำให้เมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ตัดสินใจบรรจุคำว่า “บล็อก” ลงในเว็บไซต์ในสังกัดบางแห่งไปก่อน โดยให้คำจำกัดความไว้ว่า “เว็บไซต์ที่บรรจุ เรื่องราวเกี่ยวกับบันทึกส่วนตัวประจำวัน ซึ่งสะท้อนถึงมุมมอง ความคิดเห็นของบุคคล โดยอาจรวมลิงค์เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ตามความประสงค์ของเจ้าของเว็บบล็อกเองด้วย” โดยทั่วไป คำศัพท์ที่ถูกบรรจุลงในพจนานุกรมนั้นจะต้องผ่านการใช้งาน อย่างแพร่หลาย มาไม่น้อยกว่า 20 ปี ซึ่งหมายความว่าคำคำนั้นจะต้องถูกนำมาใช้ โดยทั่วไปในระยะเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคำศัพท์ ทางเทคโนโลยีรวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บใหม่ๆ อย่างเช่น โรคเอดส์ โรคไข้หวัดซาร์ส ถูกบรรจุลงในพจนานุกรมภายในระยะเวลาอันสั้น
คำว่า “บล็อก” เริ่มใช้เป็นครั้งแรกๆผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสารเมื่อปี 2542 แต่ผู้รวบรวมพจนานุกรมตั้งข้อสังเกตว่าการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และการประชุมใหญ่ของ พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันเพื่อรับรองชื่อ ผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนชาวสหรัฐฯ ผู้ติดตามข่าวสารส่วนใหญ่สนใจ และต้องการทราบความหมายที่แท้จริงของคำดังกล่าว โดยเฉพาะเมื่อคำศัพท์เหล่านั้นปรากฏเป็นข่าวพาดหัวตามหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วไป
Blog คืออะไร ?
Blogger เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่จะช่วยให้คุณมีพื้นที่สำหรับเขียนเรื่องราวต่างๆที่ต้องการในลักษณะของ Webblog บริการเหล่านี้คุณสามารถใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับคนที่อยากมีเว็บไซต์ส่วนตัว แต่ไม่อยากมีค่าใช้จ่าย blogger สามารถช่วยคุณได้ หากคุณต้องการใช้ blogger เพียงแค่สมัคร Gmail ก็สามารถสร้าง blog ได้อย่างมากมาย นอกจากนี้การสร้าง blog ด้วย blogger นั้นเชื่อมโยงพื้นที่เก็บรูปภาพเข้ากับ picasa ซึ่งเป็นบริการด้านภาพถ่าย ทำให้คุณมีพื้นที่เขียน blog และพื้นที่เก็บรูปภาพที่สัมพันธ์กัน
ขั้นตอนการสร้าง Blog
- เข้าไปที่เว็บ http://www.blogger.com
- จากนั้นทำการสมัคร (สำหรับบุคคลที่ยังไม่มี Gmail ) ถ้ามีแล้วให้ล๊อกอินได้เลย
- ให้กรอกข้อมูลตามความเป็นจริง
- คลิกที่ปุ่มสร้างบล๊อกใหม่
- จากนั้นให้กรอกข้อมูลลงไปเเละเลือกแม่แบบตามใจชอบ
- ใส่ข้อมูลต่างๆ
- คลิกปุ่ม "แสดงตัวอย่าง" ถ้าชอบแล้วกดบันทึกได้เลย
Blog ทำหน้าที่อะไร ?
Blog ทำหน้าที่เหมือนเป็นสมุดบันทึกส่วนตัวหรือเอกสารแนะนำตัว Blog สามารถที่จะติดต่อสื่อสารไปถึงแหล่งต่างๆทั่วโลกได้ ซึ่งสามารถเข้าใจได้ว่า Blog คือ เว็บ นั่นเอง
Blog ยังมีส่วนที่ใช้ในการแชร์ความคิดเห็นหรือสาระที่สำคัญที่เราได้เรียนรู้หรือสืบค้นมาได้ สามารถจัดทำเป็น
สมุดพกส่วนตัว และสามารถลิงค์ไปที่เว็บต่างๆที่เราต้องการทั่วโลกได้ด้วย Blog เป็นเหมือนแหล่งความรู้ส่วนตัว เมื่อเราต้องการนำเสนอ
Blog ใช้ทำอะไรได้บ้าง ?
1. ทำเป็นเว็บไซต์ส่วนตัว
2. ไม่ค่อยเกิดปัญหาเรื่องเว็บล่ม
3. เขียนเรื่องราวต่าง ๆ และแบ่งปันให้กับผู้อื่น
4. หารายได้กับ google เช่น การเขียนบทความ และนำโฆษณาของ google มาติดลง webblog ของตนเอง
5. ทำธุรกิจที่เรียกว่า E-commerce ก็พอจะใช้ได้
Webblog กับ Website ต่างกันอย่างไร ?
Website ต้องมี Domain Name และ Hosting เป็นของตนเอง และเสียค่าใช้จ่าย ส่วน Webblog นั้นเราสามารถ
สมัครใช้บริการได้ฟรี แต่เราต้องใช้ Domain ของผู้ให้บริการ Webblog นั้น ๆ อยู่ในชื่อ domain ของเราด้วย
เช่น http://ninetechno.blogspot.com. เป็นต้น
Website คุณสามารถสร้างรูปแบบของเว็บไซต์ได้เองมีความยืดหยุ่น ส่วน Webblog นั้นมี Template ให้เลือก
โดยการเขียน blog ก็จะมีโครงสร้างที่ตายตัวไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้มากนัก
Website หากคุณต้องการเขียนเองต้องเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์หลายภาษาอยู่พอสมควร แต่ Webblog
คุณเพียงแค่เรียนรู้การใช้งานเล็กน้อยคุณก็สามารถใช้งานได้
ผู้ให้บริการ Blog ที่เป็นที่รู้จัก
รายชื่อผู้ให้บริการบล็อกที่มีชื่อเสียง
1. บล็อกเกอร์ (กูเกิล)
2. ไทป์แพด
3. เวิร์ดเพรสส์
5. วินโดวส์ไลฟ์ สเปซเซส (ไมโครซอฟท์)
6. มายสเปซ
- มีอิสระที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ (ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น และไม่ผิดกฎกติกาของผู้ให้บริการ Blog)
- เปิดโอกาสให้เจ้าของ Blog ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมและโต้ตอบกลับได้อย่างอิสระ
- ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาโปรแกรมต่างๆ
- หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบ Template ของ Blog ตามต้องการ
- หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบ Template ของ Blog ตามต้องการ
- สามารถใช้ Blog ในการทำธุรกิจหารายได้ จากการโปรโมทสินค้าหรือบริการ
- สามารถใช้สร้างเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ - ใช้งานได้ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นต้องการจด Domain Name เป็น .com .net .org .info)
- มี Template ให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน)
- มี Template ให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน)
- Server มีความเสถียรสูง ปัญหาในด้านความช้า หรือ Server ล่ม พบน้อยมาก
ข้อเสีย
- ฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ยังมีน้อยหากเทียบกับเว็บไซด์ที่สร้างเองหรือเว็บไซด์สำเร็จรูป
- แม้มีรูปแบบ Template ให้เลือกใช้มากมายแต่โครงสร้างเว็บก็ยังคงค่อนข้างตายตัว
- เนื่องจากเป็นบริการให้ใช้ฟรี หากเราทำผิดกฎของผู้ให้บริการ Blog เราจะถูกแบน และมีโอกาส
ถูกลบ Blog ได้ (แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ก็อยู่ได้อย่างยาวนานจนกว่าผู้บริการจะเลิกให้บริการ)
ความนิยม
บล็อกได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนในหลายประเทศ เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่าย
และสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ โดยนอกเหนือจากที่ผู้เขียนข่าวส่งผล
ให้กับทางสื่อแล้ว ยังได้มาเขียนข่าวในอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล หรือแนวความคิด โดยการเขียน
สามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า สื่อในด้านอื่น ข่าวที่นิยมในการเขียน
บล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะเรื่องซุบซิบวงการดารา ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมือง
เป็นต้น
จากความนิยมที่มากขึ้น ทำให้หลายเว็บไซต์เปิดให้มีส่วนการใช้งานบล็อกเพิ่มขึ้นมาในเว็บของตนเอง เพื่อเรียก
ให้มีการเข้าสู่เว็บไซต์มากขึ้นทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน
วิดีโอการทำ BLOG
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น